3/26/2553

เที่ยวนิวซีแลนด์ (1. เตรียมหาข้อมูลเดินทาง)


ตำแหน่งหมายเลขการเดินทาง เรียงลำดับ ตั้งแต่ 1-13-1
(หมายเลข 12 คือเมือง  Methven )

Plan of Trip in New Zealand (7-24 April 2010)
แผนการเดินทางเกาะใต้ นิวซีแลนด์ 18 วัน

DATE PROGRAM
7-8 April 2010 BKK –CHC
9 April 2010 Christchurch
10 April 2010 Christchurch – Grey mouth
11 April 2010 Grey mouth – Franz Josef Glacier
12 April 2010 Franz Josef Glacier – Fox Glacier
13 April 2010 Fox Glacier – Hacest Pass - Wanaka
14 April 2010 Wanaka – Arrowtown - Queenstown
15 April 2010 Queenstown
16 April 2010 Queenstown – Te Anau
17 April 2010 Te Anau
18 April 2010 Te Anau - Invercargill
19 April 2010 Invercargill - Dunedin
20 April 2010 Dunedin – Qamaru - Mount Cook
21 April 2010 Mount Cook - Methven
22 April 2010 Methven - Kaikoura
23 April 2010 Kaikoura – Nelson - Christchurch
24 April 2010 Christchurch- BKK

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ราคาตั๋วเครื่องบิน Singapore Airline ไป-กลับ Bangkok - Christchurch สำหรับ 2 คน  สำหรับตอนที่จองเดือนมกราคม 2553 เป็นช่วงโปรโมชั่น อยู่ที่ 68,500 ต่อ 2 คน



ประเทศนิวซีแลนด์


ภูมิศาสตร์
นิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ทางทิศตะวันออกของออสเตรเลีย ห่างประมาณ 1,500 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะเหนือและเกาะใต้ และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะ
พื้นที่ 268,021 ตร.กม.
ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงและเนินเขา เกาะใต้มีเทือกเขาสูง เรียกว่า เซาว์เทิร์นแอลป์ พาดผ่านกลาง มีฟยอร์ด ธารน้ำแข็ง และทะเลสาบ ส่วนเกาะเหนือมีพื้นที่เขตภูเขาไฟและทะเลสาบในใจกลางเกาะ มีน้ำพุร้อนและบ่อโคลนเดือด ภูเขาสูงสุด คือ เมาท์คุก (3,754 เมตร) อยู่ในบนเกาะใต้
ภูมิอากาศ
นิวซีแลนด์มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ฤดูใบไม้ร่วง (มีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูหนาว (มิถุนายน-สิงหาคม) และฤดูใบไม้ผลิ (กันยายน-พฤศจิกายน)
อุณหภูมิเฉลี่ย 17 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม และ 8 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิสูงสุดในเมืองต่าง ๆ ได้แก่
มกราคม กรกฏาคม
นครโอ๊คแลนด์ 23.4 14.2
กรุงเวลลิงตัน 20.3 11.2
เมืองไครส์เชิร์ท 22.5 11.1

การนับเวลา
นิวซีแลนด์ เวลาเร็วกว่าไทย 5 ชั่วโมง ส่วนเดือนตุลาคม-มีนาคม เวลาเร็วกว่าไทย 6 ชั่วโมง เนื่องจากมี Daylight savings time
เมืองสำคัญ เมืองหลวง กรุงเวลลิงตัน
เมืองใหญ่ โอ๊คแลนด์เป็นเมืองใหญ่ที่สุด ไครส์เชิร์ช , ดันเนอดิน

ประชากร
4 ล้านคน
เชื้อชาติ ชนผิวขาว 75.5 % ชาวพื้นเมืองเชื้อสายเมารี 9.7% ชนกลุ่มน้อยเชื้อสายชาวเกาะแปซิฟิคใต้ 3.8 % นอกจากนั้นเป็นชาวเอเชีย และชนชาติอื่น ๆ
ภาษา อังกฤษและภาษาเมารี
ศาสนา คริสต์ นิกาย Anglican, Presbyterian, Roman Catholic, Methodist, Baptist และศาสนาอื่น ๆ

การเข้าเมือง
ระเบียบศุลกากรและการเข้าเมือง
ผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว ศึกษา หรือทำงานในนิวซีแลนด์ ต้องขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ที่สถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย นิวซีแลนด์มีระเบียบศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดเนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเกาะและมีเศรษฐกิจซึ่งพึ่งพาผลิตผลทางเกษตรจึงจำเป็นต้องป้องกันการติดโรคต่างๆ สำหรับพืชผลและปศุสัตว์ สิ่งของและพืชผลหลายประเภทห้ามเข้านิวซีแลนด์ โดยเฉพาะผลิตผลด้านการเกษตร ผู้เดินทางที่นำสิ่งของเหล่านี้ไปต้องปฏิบัติ ตามกฎระเบียบศุลกากรอย่างเคร่งครัด สิ่งที่ต้องสำแดง (Declare) ว่าจะนำเข้า มิเช่นนั้นจะถูกปรับได้แก่ อาหารทุกชนิด พืชหรือส่วนของพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์ อุปกรณ์ เช่น ไม้กอล์ฟ รองเท้ากอล์ฟ รองเท้ากีฬาที่มีปุ่ม (Spike)เครื่องเดินป่า และจักรยานที่ใช้งานแล้ว

ข้อพึงระวัง
ในกรณีที่เดินทางไปโดยไม่มีวีซ่า ควรมีเงินติดตัวไปเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในนิวซีแลนด์ตามความเหมาะสมกับระยะเวลาที่อยู่ (อย่างน้อยเดือนละ 10,000 เหรียญ) และต้องสามารถแจ้งที่อยู่ในนิวซีแลนด์ที่ชัดเจน มิฉะนั้นอาจถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองที่ท่าอากาศยาน

ในกรณีที่ไม่ได้ขอวีซ่า แต่มีผู้รับรองในนิวซีแลนด์ ก็ต้องมีใบ sponsorship ของผู้รับรองซึ่งต้องส่งให้ผู้เดินทางนำติดตัวมาด้วยล่วงหน้า พร้อมกับเอกสารแสดงสถานะทางการเงินของผู้รับรอง เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง

ผู้ที่จะไปศึกษาในนิวซีแลนด์ ควรขอวีซ่านักเรียนให้เรียบร้อยก่อนเดินทางไปนิวซีแลนด์

วัฒนธรรมและสังคม

นิวซีแลนด์มีวัฒนธรรม 2 แบบ คือ วัฒนธรรมคนผิวขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับคนยุโรปและอเมริกัน และวัฒนธรรมของชาวเผ่าเมารี ซึ่งน่าสนใจควรค่าแก่การศึกษาเป็นวัฒนธรรมที่มีความเคร่งครัดในเรื่องขนบธรรมเนียมและแบบพิธี

คนนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และช่วยเหลือผู้เดินทางจากต่างประเทศ เป็นคนที่ถือเรื่องการรักษาเวลาการนัดหมายอย่างเคร่งครัด

การทิปเป็นสิ่งไม่จำเป็น บางครั้งบริกรจะปฏิเสธเงินค่าทิป

ในด้านวัฒนธรรมเผ่าเมารี มีข้อที่ควรรู้คือ

คนต่างชาติจะต้องไม่เข้าไปในสถานประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีการต่าง ๆ (Marae) ของชาวเมารี โดยไม่ได้รับเชิญก่อน

ในพิธีต่าง ๆ ของเผ่าเมารี ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะนั่งแยกต่างหากจากกัน

ห้ามรับประทานอาหารใน Marae

ชนเผ่าเมารีมีวิธีการต้อนรับ โดยการใช้จมูกและหน้าผากจรดกัน เรียกว่า Hongi

คำภาษาเมารีที่ควรรู้
ได้แก่
Haere-mai ฮาย-เร-มาย แปลว่า ยินดีต้อนรับ
Haere-re ฮาย-เร-รา แปลว่า ลาก่อน
Kia-ora เคียว-โอรา แปลว่า โชคดี หรือใช้อวยพรก่อนลาจากกัน
Haka ฮากา แปลว่า การเต้นรำก่อนทำศึก
Aotearoa เอา เท-รัว แปลว่า ดินแดนแห่งแนวเมฆขาว เป็นชื่อที่ที่ชาวเมารีใช้เรียก นิวซีแลนด์

ที่มา : http://www.mfa.go.th/web/350.php

ใบขับขี่สากล สำหรับใช้ขับรถในนิวซีแลนด์

ใบขับขี่สากล ใช้ได้ 1 ปี

ท่านใดที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศและต้องการขับรถเที่ยวด้วยตัวเอง คุณจำเป็นจะต้องทำใบขับขี่สากลก่อนเดินทางไป

สิ่งที่ต้องเตรียมเพื่อไปทำใบขับขี่สากล
1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา (ถ้าผู้ยื่นขอเป็นชาวต่างชาติ ก็ใช้พาสปอร์ต วีซ่า และใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวหรือ work permit ทุกอย่างนี้พร้อมสำเนา)
2. พาสปอร์ต พร้อมสำเนาพาสปอร์ต
3. ใบขับขี่ พร้อมสำเนาใบขับขี่ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย แต่ว่าต้องมีอายุเกิน 1 ปี
4. เงิน 505 บาท
5. รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 ใบ

สถานที่ทำใบขับขี่สากล
กรมการขนส่งทางบก เขต จตุจักร อาคาร 4 ชั้น 2 อยู่ตรงข้ามกับตลาดนัดจตุจักร

ขั้นตอนการดำเนินการ
1. เมื่อไปถึงที่ อาคาร 4 ชั้น 2 แล้ว จะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจเอกสารครับ ก็แจ้งเค้าไปว่าเราจะมาทำใบขับขี่สากล หลังจากนั้นเค้าจะเอาเอกสารคำร้องมาให้กรอก แล้วก็เรารับบัตรคิวน่ะครับ

2. นั่งรอตามคิวจนกว่าจะถูกเรียก

3. ถูกเรียกแล้วก็เดินไปยื่นเอกสารตามช่องที่เค้ากำหนด จ่ายเงิน หลังจากนั้นก็เดินกลับมานั่งรอเรียกชื่ออีกประมาณ 15 นาที

4. หลังจากนั้นจะถูกเรียกชื่ออีกทีเพื่อไปรับเล่ม ซึ่งหน้าตาของใบขับขี่มันจะคล้ายกับเล่มพาสปอร์ต ซึ่งจะระบุชื่อเราเป็นภาษาอังกฤษและวันที่อนุญาต คือหนึ่งปี ระบุว่าหมดอายุวันไหน เสร็จสรรพ พร้อมมีรูปของเราติดที่ใบขับขี่


3/23/2553

หลวงพ่อแดง

หลวงพ่อแดง พระพุทธรูป ประจำ สถาบัน กศน. ภาคกลาง จ.ราชบุรี
ในภาพกำลังซ่อมแซม หลังคาศาลาใหม่

หลวงพ่อแดง         
          เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านตำบลบ้านฆ้องบ้านสิงห์และตำบลใกล้เคียง เป็น อย่างมาก ปัจจุบันประดิษฐาน ที่ศาลาทรงไทย ภายในบริเวณศูนย์การศึกษานอก โรงเรียนภาคกลาง ซึ่งแต่เดิม นั้นบริเวรศูนย์ฯภาคกลางเป็นวัดร้างชื่อวัด สาลี
          ในบริเวณวัด ซึ่งสันนิฐานว่าเป็นโบสถ์เก่า และมีเศรียรพระพุทธรูปวางไว้ ต่อมาวัดสาลีถูกใช้เป็นค่าย ลูกเสือ (พ.ศ. 2508) ชาวบ้านและคณะผู้บังคับบัญชาลูกเสือได้ขุดค้นได้ร่วมกันบูรณะ และพบชิ้นส่วน อีกหลายชิ้น และได้ประกอบเข้าด้วยกัน รวม 3 องค์ (เป็นศิลาแลงสีค่อนข้างแดงเหมือนอิฐเผา) ชาวบ้านต่างพร้อมใจกันเรียกทั้ง 3 องค์ว่า หลวงพ่อแดง

          ในปี พ.ศ. 2520 กระทรวงศึกษาธิการ ให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางมาตั้งสำนักงานใน วัดสาลีนี้ และร่วมกับชาวบ้านสร้างศาลาทรงไทยในราคาเฉพาะวัสดุ ประมาณ 150,000 บาท เพื่อเป็น ที่ประดิษฐาน ของ องค์หลวงพ่อแดง สำหรับเป็นศูนย์รวม จิตใจ และเป็นถาวรวัตถุที่เป็นสัญญลักษ์ของความ ศรัทธา ของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ คนงาน ลูกจ้าง ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง ตลอดจน ชาวบ้าน และคณะลูกเสือ
ปัจจุบัน ศาลาทรงไทย หลวงพ่อแดง เป็นสถานที่ของชาวบ้าน จะได้มาพบกันเพื่อเคารพ กราบไหว้ หลวงพ่อแดงอยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะวันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และชาวบ้านจะ ร่วมใจ กันจัดทำบุญเลี้ยงพระ รับประทานอาหารร่วมกันแสดงถึงว่าข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ตลอดจน ชาวบ้าน มีความรักและเข้าใจกัน และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสันติ ทั้งนี้ด้วยพุทธานุภาพของหลวงพ่อแดง

รวมภาพ ต่างแดน

นี่ค็เหมือนกันครับ ไม่รู้จะเขียนบทความและเอารูปอะไรขึ้น Blog ดี หลังจากสมัครแล้ว เอารูปที่มีอยู่มา Post ครับ



Hongkong


Singapore



Macou




Chaina


Korea



France


Switzerland



Germany




Chaina







Australia







Japan