10/27/2554

Trip จีน มณฑลยูนาน (คุนหมิง ต้าลี่ แชงการีล่า ลี่เจียง )

ไม่ใช่ภาพวาด แต่เป็นงานที่ใช้เส้นไหมปัก เป็นรูปภาพ


ที่โรงงานไหมเมืองคุณหมิง



ประเพณีของชนเผ่า ที่ผู้ชาย ปีนหน้าต่าง เข้าหาสาว

สระมังกรดำ เมืองคุณหมิง




ตัวจามรี (วัวขนยาว) สัตว์เลี้ยงเขตธิเบท
มารับจ้างนักท่องเที่ยวขี่เพื่อถ่ายรูป (10 หยวน)






ชำแหละแพะขายกันหน้าบ้าน


เจดีย์ เมืองโบราณกวนตู้ ที่เมืองคุนหมิง



ลูกท้อ ลูกใหญ่น่ากินมาก (ประมาณ 50 บาทต่อลูก)



ซาเล้ง ไฟฟ้า (Battery) สำหรับมอเตอร์ไซด์หรือซาเล็งในเขตเมือง บังคับใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด




อีแต๋นสัญชาติจีน ที่ใช้ตามชนบท
ลานน้ำแข็ง บนภูเขาหิมะมังกรหยก แหล่งท่องเที่ยวระดับ AAAAA (5A)











การแสดงของชนเผ่า
โดยมีฉากหลังเป็นภูเขาหิมะมังกรหยก
กำกับการแสดงโดยจางอี้หมง











บริเวณเมืองโบราณ ลี่เจียง











ช่องแคบเสือกระโจน แหล่งท่องเที่ยวระดับ AAAA (4A)



บ้านเรือนแถบชนบท



ตลาดในชนบท มณฑลยูนาน

รุ้งกินน้ำ หน้าโรงแรมที่พัก Regent Hotel เมือง ต้าลี่


8/02/2554

ฟักข้าว

ลูกฟักข้าวสีส้ม ห้อยอยู่บนโครงหลังคาโรงรถ



ฟักข้าว Momordica cochinchinnensis (Lour.) Spreng. อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์ Cucurbitaceae ชื่อเรียกอื่นคือ ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit, Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochin-chin Gourd ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้านเรือนฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ ๖-๑๕ เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๓-๕ แฉก ดอกเป็นดอกเดี่ยวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้อง ถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังแยกรากปลูกประมาณ ๒ เดือน เริ่มผลิดอกราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจน ถึงราวเดือนสิงหาคม ผลสุกใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน และใน ๑ ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ ๓๐-๖๐ ผล โดยเก็บผลสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ผลของฟักข้าวมี ๒ ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว ๔-๖ เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ ๐.๕-๒ กิโลกรัม ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงนิยมใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้นผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้ม ภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา ฟักข้าว ๑ ผลจะได้เยื่อสีแดงราว ๒๐๐ กรัม
ประโยชน์ทางโภชนาการในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร รสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือ ต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำ มาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามถือว่าสีขาวเป็น สีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่างๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อม เมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วยจึงว่าเป็นของแท้ ถึงกับมีการหุงข้าวใส่สีผสมอาหารสีแดงเลียนแบบการใช้ฟักข้าวนอกฤดูกาลก็มี เชื่อว่าบำรุงสายตา


แหล่งข้อมูล
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 340
เดือน-ปี : 08/2550

รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ กลุ่มวิชาเภสัชโภชนศาสตร์ โครงการบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฟักข้าวอาหารต้านมะเร็ง

6/21/2554

ช้างป่า ป่าละอู



ไม่รู้ชื่ออะไร ออกมาจากป่าข้างทาง ขณะขับรถไปเที่ยวน้ำตกป่าละอู ประจวบคีรีขันธ์


เส้นทางบนถนนสายหัวหิน-ป่าละอู ปัจจุบันมีช้างป่าอยู่ในบริเวณดังกล่าวกว่า 70 ตัว เนื่องจากในอดีตเป็นเส้นทางของช้างมาก่อน ในช่วงฤดูฝน ป่าอุดมสมบูรณ์อาหารช้างมีมาก จะสามารถพบเห็นช้างป่าเดินหากิน และเดินบนถนนตั้งแต่ 10 - 20 ตัว หากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับรถยนต์พบเห็น ต้องสังเกตพฤติกรรมว่า ช้างดุร้ายหรือไม่ อาจจอดรอจนกว่าช้างจะลงจากถนนและกลับเข้าป่าไป ซึ่งผู้ที่ขับรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ที่สัญจรไปมาต้องไม่เร่งเครื่องหรือใช้สัญญาณแตร เนื่องจากจะทำให้ช้างป่าโกรธและวิ่งเข้าใส่ สิ่งสำคัญส่วนหนึ่งปัญหาที่ช้างป่าออกมาหากินและเดินอยู่บนถนนสายหัวหิน-ป่าละอู ก็เนื่องมาจากบางครั้งชาวไร่สับปะรด มักเอาผลสับปะรดที่เหลือจากการส่งโรงงาน นำมาโยนให้ช้างป่ากิน ซึ่งจุดนี้เองทำให้ช่างป่าเกิดความเคยชินจึงออกมานอกป่าบ่อยเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ได้ขอความร่วมมือไม่ให้ชาวบ้านนำสับปะรดมาทิ้งให้ช้าง เนื่องจากจะเกิดความเคยชินแล้ว อาจเกิดอุบัติเหตุจากผู้ใช้รถใช้ถนนตามมาได้ ดังนั้นขอให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวหากเดินทางผ่านเข้าไปยังบ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน ต้องขับรถยนต์ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงเช้าตรู่ ช่วงเย็น และกลางคืน

6/15/2554

ทับทิมกรอบ



ปลูกไว้ในบ้าน 1 ต้น หวานกรอบ กินได้ทั้งเมล็ด หวาน........



6/14/2554

นกกระเต็นหัวดำ

นกกระเต็นหัวดำ มาจากไหนไม่เป็นที่ปรากฏ เกาะอยู่หลังบ้าน ท่าทางไม่สบาย พยายามดูแลอยู่ 2 อาทิตย์ ไม่ยอมกินอาหารที่ป้อน สุดท้ายก็ไม่รอด

ชื่อไทย : นกกระเต็นหัวดำ
ชื่อสามัญ:Black-capped Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์:Halcyon pileata (Boddaert, 1783)
ลักษณะ:หัวสีดำ รอบคอสีขาว คอและอกส่วนบนสีขาว ท้องสีน้ำตาลแดง ปากหนาเรียวยาวและแหลมสีแดงสด ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้ม บริเวณไหล่มีแถบสีดำใหญ่
สถานภาพ:เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ถิ่นอาศัย:อาศัยในป่าชายเลน ลำธารในป่า และทุ่งนา บางครั้งอาจพบในสวน พบตั้งแต่พื้นราบจนถึง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเลในช่วงอพยพผ่าน
การแพร่กระจาย:นกอพยพผ่าน พบได้ทุกภาคของไทย ยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์พบได้ในภาคกลางและภาคใต้




มิสเตอร์ ขาว เก๋าประจำศูนย์





บ้านไทยทรงดำ เขาย้อย เพชรบุรี 11-06-2554
'ชาวไทยทรงดำ เป็นชนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณดินแดนสิบสองจุไทยในเวียดนามเหนือปัจจุบัน คนไทยมักเรียกพวกเขาว่า 'ลาวโซ่ง' หรือ 'ไทยโซ่ง' เนื่องจากอพยพผ่านมาทางประเทศลาว ซึ่งคำว่า โซ่ง เป็นคำที่ถูกเรียกตามชุดแต่งกายเพราะนุ่งส่วงดำหรือกางเกงสีดำ ปัจจุบันนิยมเรียกว่า 'ไทยทรงดำ' ครั้งอดีตสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี(พ.ศ. 2322) ได้กวาดต้อนไทยดำพร้อมลาวในเวียงจันทน์และเมืองพวนมาอยู่ที่ธนบุรี ต่อมารัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ลาวเวียงอยู่ที่ จ.ราชบุรี ลาวพวนอยู่ที่ธนบุรี และให้ไทยทรงดำไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี และสืบลูกหลานมาเป็นไทยทรงดำเมืองเพชร ซึ่งตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง บ้านแหลม บ้านลาด ท่ายาง หนองหญ้าปล้อง แต่ที่หนาแน่นที่สุดคือที่อำเภอเขาย้อย แถบบ้านห้วยท่าช้าง, หนองปรง, หนองจิก, ทับคาง, ดอนทราย และหนองชุมพล


เพื่อนร่วมโลกที่เขาย้อยเพชรบุรี 11-06-2554