3/26/2553

เที่ยวนิวซีแลนด์ (1. เตรียมหาข้อมูลเดินทาง)


ตำแหน่งหมายเลขการเดินทาง เรียงลำดับ ตั้งแต่ 1-13-1
(หมายเลข 12 คือเมือง  Methven )

Plan of Trip in New Zealand (7-24 April 2010)
แผนการเดินทางเกาะใต้ นิวซีแลนด์ 18 วัน

DATE PROGRAM
7-8 April 2010 BKK –CHC
9 April 2010 Christchurch
10 April 2010 Christchurch – Grey mouth
11 April 2010 Grey mouth – Franz Josef Glacier
12 April 2010 Franz Josef Glacier – Fox Glacier
13 April 2010 Fox Glacier – Hacest Pass - Wanaka
14 April 2010 Wanaka – Arrowtown - Queenstown
15 April 2010 Queenstown
16 April 2010 Queenstown – Te Anau
17 April 2010 Te Anau
18 April 2010 Te Anau - Invercargill
19 April 2010 Invercargill - Dunedin
20 April 2010 Dunedin – Qamaru - Mount Cook
21 April 2010 Mount Cook - Methven
22 April 2010 Methven - Kaikoura
23 April 2010 Kaikoura – Nelson - Christchurch
24 April 2010 Christchurch- BKK

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ราคาตั๋วเครื่องบิน Singapore Airline ไป-กลับ Bangkok - Christchurch สำหรับ 2 คน  สำหรับตอนที่จองเดือนมกราคม 2553 เป็นช่วงโปรโมชั่น อยู่ที่ 68,500 ต่อ 2 คน



ประเทศนิวซีแลนด์


ภูมิศาสตร์
นิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ทางทิศตะวันออกของออสเตรเลีย ห่างประมาณ 1,500 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะเหนือและเกาะใต้ และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะ
พื้นที่ 268,021 ตร.กม.
ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงและเนินเขา เกาะใต้มีเทือกเขาสูง เรียกว่า เซาว์เทิร์นแอลป์ พาดผ่านกลาง มีฟยอร์ด ธารน้ำแข็ง และทะเลสาบ ส่วนเกาะเหนือมีพื้นที่เขตภูเขาไฟและทะเลสาบในใจกลางเกาะ มีน้ำพุร้อนและบ่อโคลนเดือด ภูเขาสูงสุด คือ เมาท์คุก (3,754 เมตร) อยู่ในบนเกาะใต้
ภูมิอากาศ
นิวซีแลนด์มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ฤดูใบไม้ร่วง (มีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูหนาว (มิถุนายน-สิงหาคม) และฤดูใบไม้ผลิ (กันยายน-พฤศจิกายน)
อุณหภูมิเฉลี่ย 17 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม และ 8 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิสูงสุดในเมืองต่าง ๆ ได้แก่
มกราคม กรกฏาคม
นครโอ๊คแลนด์ 23.4 14.2
กรุงเวลลิงตัน 20.3 11.2
เมืองไครส์เชิร์ท 22.5 11.1

การนับเวลา
นิวซีแลนด์ เวลาเร็วกว่าไทย 5 ชั่วโมง ส่วนเดือนตุลาคม-มีนาคม เวลาเร็วกว่าไทย 6 ชั่วโมง เนื่องจากมี Daylight savings time
เมืองสำคัญ เมืองหลวง กรุงเวลลิงตัน
เมืองใหญ่ โอ๊คแลนด์เป็นเมืองใหญ่ที่สุด ไครส์เชิร์ช , ดันเนอดิน

ประชากร
4 ล้านคน
เชื้อชาติ ชนผิวขาว 75.5 % ชาวพื้นเมืองเชื้อสายเมารี 9.7% ชนกลุ่มน้อยเชื้อสายชาวเกาะแปซิฟิคใต้ 3.8 % นอกจากนั้นเป็นชาวเอเชีย และชนชาติอื่น ๆ
ภาษา อังกฤษและภาษาเมารี
ศาสนา คริสต์ นิกาย Anglican, Presbyterian, Roman Catholic, Methodist, Baptist และศาสนาอื่น ๆ

การเข้าเมือง
ระเบียบศุลกากรและการเข้าเมือง
ผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว ศึกษา หรือทำงานในนิวซีแลนด์ ต้องขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ที่สถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย นิวซีแลนด์มีระเบียบศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดเนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเกาะและมีเศรษฐกิจซึ่งพึ่งพาผลิตผลทางเกษตรจึงจำเป็นต้องป้องกันการติดโรคต่างๆ สำหรับพืชผลและปศุสัตว์ สิ่งของและพืชผลหลายประเภทห้ามเข้านิวซีแลนด์ โดยเฉพาะผลิตผลด้านการเกษตร ผู้เดินทางที่นำสิ่งของเหล่านี้ไปต้องปฏิบัติ ตามกฎระเบียบศุลกากรอย่างเคร่งครัด สิ่งที่ต้องสำแดง (Declare) ว่าจะนำเข้า มิเช่นนั้นจะถูกปรับได้แก่ อาหารทุกชนิด พืชหรือส่วนของพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์ อุปกรณ์ เช่น ไม้กอล์ฟ รองเท้ากอล์ฟ รองเท้ากีฬาที่มีปุ่ม (Spike)เครื่องเดินป่า และจักรยานที่ใช้งานแล้ว

ข้อพึงระวัง
ในกรณีที่เดินทางไปโดยไม่มีวีซ่า ควรมีเงินติดตัวไปเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในนิวซีแลนด์ตามความเหมาะสมกับระยะเวลาที่อยู่ (อย่างน้อยเดือนละ 10,000 เหรียญ) และต้องสามารถแจ้งที่อยู่ในนิวซีแลนด์ที่ชัดเจน มิฉะนั้นอาจถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองที่ท่าอากาศยาน

ในกรณีที่ไม่ได้ขอวีซ่า แต่มีผู้รับรองในนิวซีแลนด์ ก็ต้องมีใบ sponsorship ของผู้รับรองซึ่งต้องส่งให้ผู้เดินทางนำติดตัวมาด้วยล่วงหน้า พร้อมกับเอกสารแสดงสถานะทางการเงินของผู้รับรอง เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง

ผู้ที่จะไปศึกษาในนิวซีแลนด์ ควรขอวีซ่านักเรียนให้เรียบร้อยก่อนเดินทางไปนิวซีแลนด์

วัฒนธรรมและสังคม

นิวซีแลนด์มีวัฒนธรรม 2 แบบ คือ วัฒนธรรมคนผิวขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับคนยุโรปและอเมริกัน และวัฒนธรรมของชาวเผ่าเมารี ซึ่งน่าสนใจควรค่าแก่การศึกษาเป็นวัฒนธรรมที่มีความเคร่งครัดในเรื่องขนบธรรมเนียมและแบบพิธี

คนนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และช่วยเหลือผู้เดินทางจากต่างประเทศ เป็นคนที่ถือเรื่องการรักษาเวลาการนัดหมายอย่างเคร่งครัด

การทิปเป็นสิ่งไม่จำเป็น บางครั้งบริกรจะปฏิเสธเงินค่าทิป

ในด้านวัฒนธรรมเผ่าเมารี มีข้อที่ควรรู้คือ

คนต่างชาติจะต้องไม่เข้าไปในสถานประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีการต่าง ๆ (Marae) ของชาวเมารี โดยไม่ได้รับเชิญก่อน

ในพิธีต่าง ๆ ของเผ่าเมารี ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะนั่งแยกต่างหากจากกัน

ห้ามรับประทานอาหารใน Marae

ชนเผ่าเมารีมีวิธีการต้อนรับ โดยการใช้จมูกและหน้าผากจรดกัน เรียกว่า Hongi

คำภาษาเมารีที่ควรรู้
ได้แก่
Haere-mai ฮาย-เร-มาย แปลว่า ยินดีต้อนรับ
Haere-re ฮาย-เร-รา แปลว่า ลาก่อน
Kia-ora เคียว-โอรา แปลว่า โชคดี หรือใช้อวยพรก่อนลาจากกัน
Haka ฮากา แปลว่า การเต้นรำก่อนทำศึก
Aotearoa เอา เท-รัว แปลว่า ดินแดนแห่งแนวเมฆขาว เป็นชื่อที่ที่ชาวเมารีใช้เรียก นิวซีแลนด์

ที่มา : http://www.mfa.go.th/web/350.php

ใบขับขี่สากล สำหรับใช้ขับรถในนิวซีแลนด์

ใบขับขี่สากล ใช้ได้ 1 ปี

ท่านใดที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศและต้องการขับรถเที่ยวด้วยตัวเอง คุณจำเป็นจะต้องทำใบขับขี่สากลก่อนเดินทางไป

สิ่งที่ต้องเตรียมเพื่อไปทำใบขับขี่สากล
1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา (ถ้าผู้ยื่นขอเป็นชาวต่างชาติ ก็ใช้พาสปอร์ต วีซ่า และใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวหรือ work permit ทุกอย่างนี้พร้อมสำเนา)
2. พาสปอร์ต พร้อมสำเนาพาสปอร์ต
3. ใบขับขี่ พร้อมสำเนาใบขับขี่ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย แต่ว่าต้องมีอายุเกิน 1 ปี
4. เงิน 505 บาท
5. รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 ใบ

สถานที่ทำใบขับขี่สากล
กรมการขนส่งทางบก เขต จตุจักร อาคาร 4 ชั้น 2 อยู่ตรงข้ามกับตลาดนัดจตุจักร

ขั้นตอนการดำเนินการ
1. เมื่อไปถึงที่ อาคาร 4 ชั้น 2 แล้ว จะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจเอกสารครับ ก็แจ้งเค้าไปว่าเราจะมาทำใบขับขี่สากล หลังจากนั้นเค้าจะเอาเอกสารคำร้องมาให้กรอก แล้วก็เรารับบัตรคิวน่ะครับ

2. นั่งรอตามคิวจนกว่าจะถูกเรียก

3. ถูกเรียกแล้วก็เดินไปยื่นเอกสารตามช่องที่เค้ากำหนด จ่ายเงิน หลังจากนั้นก็เดินกลับมานั่งรอเรียกชื่ออีกประมาณ 15 นาที

4. หลังจากนั้นจะถูกเรียกชื่ออีกทีเพื่อไปรับเล่ม ซึ่งหน้าตาของใบขับขี่มันจะคล้ายกับเล่มพาสปอร์ต ซึ่งจะระบุชื่อเราเป็นภาษาอังกฤษและวันที่อนุญาต คือหนึ่งปี ระบุว่าหมดอายุวันไหน เสร็จสรรพ พร้อมมีรูปของเราติดที่ใบขับขี่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น